วันอาทิตย์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2558

วิธีการทำ steak อย่างง่าย

วัตถุดิบ
1.เนื้อวัวส่วน rib-eye 250 กรัม
2. เกลือ 2-3 หยิบมือ
3. กระเทียม 2 กลีบ
4. พริกไทยป่นเม็ดใหญ่  2-3 หยิบมือ
5. น้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ
6. น้ำมันมะกอก 2-3 ช้อนโต๊ะ
7. น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ
8. ไทม์









ไทม์














เนื้อวั










ขั้นตอนการทำ
1.ใช้สันมีดทุบเนื้อให้ทั่ว โรยด้วยเกลือและพริกไทยเล็กน้อย เคล้าให้ทั่ว
2.ทาน้ำมันมะกอกให้ทั่วตัวเนื้อ
3.หมักทิ้งไว้อย่างน้อย 3 ชั่วโมง
4.นำมาทอดโดยใช้เวลาในการพลิกด้านละ 1-2 นาที

ส่วนต่างๆของเนื้อวัว

1. Chunk  เนื้อสันตรงบริเวณคอ เนื้อประเภทนี้จะมีความหนาเหมาะสำหรับการทำอาหารประเภท อบ การทำสตู เพราะจะได้เนื้อที่นิ่มเเละอร่อย
2. Rib  เนื้อส่วนซึ่โครง เนื้อตรงนี้สามารถแบ่งออกได้อีกเป็น
-
Short Rib: เป็นเนื้อที่ติดซี่โครง จะมีลักษณะชิ้นโค้ง นิยมนำไป กริลล์-ย่างเผาอบ
-
Rib eye: ตรงนี้จะเป็นเนื้อล้วนๆ ไม่มีซี่โครงติดมาด้วย ซึ่งได้รับความนิยมมากๆ ซึ่งมักนำไปใช้ทำ สเต็กย่างหรือทอด เนื้อจะมีมันแทรกนิดหน่อยพอประมาณ
-
Prime Rib: เนื้อล้วนๆลักษณะจะคล้ายๆ Rib eyeเหมือนกัน นิยมทำ สเต็กย่างทอด เเต่เนื้อชนิดนี้จะมีชั้นของมันมากกว่า Rib eye
3. Loin  หรือเนื้อสัน เนื้อส่วนนี้ส่วนใหญ่มักใช้ทำสเต็กอบย่าง,เผา เป็นส่วนที่ราคาค่อนข้างแพง
-
Short Loin ตัวนี้เอามาทำสเต็ก Strip Steak ชื่อดัง อย่าง New York Steak หรือ อีกชื่อว่า Strip loin เนื้อส่วนนี้มีราคาสูง เพราะว่ารสสัมผัสของเนื้อจะนุ่ม เพราะกล้ามเนื้อของวัวช่วงนี้ไม่ค่อยได้ทำงานก็เลยเนื้อไม่เหนียว แต่ความนุ่มยังไม่เท่ากับ Rib eye หรือTenderloin เพราะส่วน Tenderloin มีไขมันเยอะ
-
Sirloin เนื้อสันนอกติดมัน สำหรับทำสเต็ก ย่าง อบ มีราคาแพง
-
Top Sirloin กับ Bottom Sirloin เนื้อนุ่ม ทำสเต็ก ใช้ ย่าง เผา
-
Tenderloin เนื้อนุ่ม ตามชื่อค่ะ Tender ใช้ย่าง ทำ BBQก็อร่อย ติดมัน
-
Fillet เนื้อสันใน นุ่ม ใช้ผัด ทอด ตามใจชอบ เนื้อนุ่ม
-
T-bone เป็นเนื้อที่ตัดส่วนกระดูกออกด้วยได้รูปตัว T
4. Round  หรือเนื้อส่วนสะโพก นิยมนำมาทำอาหารพวก อบย่าง,ทำเนื้อบดผัดทำสเต็ก ก็ยังได้ มันน้อย
5. Brisket  ส่วนติดอกของวัวเหมาะสำหรับย่าง ทำ BBQ                                                   6. Shank  ส่วนติดกับขา ทำสตู ทำซุป                                                                     7. Plate  หรือส่วน Belly หรือท้องนั่นแหล่ะ ใช้ในการ อบ ย่าง หรือทำสเต็ก มีชื่อว่า "Outside Skirt Steak" ราคาถูก และมันเยอะค่ะ คนไทยเราชอบเอามาทำสตูว์ น้ำสต๊อก เนื้อเปื่อย เนื้อตุ๋น


ระดับความสุกของ steak

ความสุก คือปริมาณช่วงเวลาในการเตรียมสเต๊ก ซึ่งขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคล ความสุกจะใช้กับสเต๊กเนื้อวัวเพียงอย่างเดียว เนื่องจากเนื้อชนิดอื่นเช่นเนื้อหมู จำเป็นต้องทำให้สุกเพื่อฆ่าเชื้อที่ทำอันตรายต่อมนุษย์ที่อยู่ภายในเนื้อ
1. (rare) เนื้อด้านนอกสีน้ำตาลอมเทา เนื้อส่วนกลางยังคงเป็นสีแดงและสีชมพู
2. (medium rare)เนื้อด้านนอกสีน้ำตาลอมเทาส่วนกลางเป็นสีแดงอมเทา
3. (medium)เนื้อด้านในสุดเป็นสีชมพูโดยเนื้อส่วนอื่นจะเป็นสีน้ำตาลอมเทา
4. (medium well)เนื้อทั้งหมดจะเป็นสีน้ำตาลโดยจะเห็นเพียงสีชมพูเรื่อๆ
5. (well done) เนื้อทั้งหมดจะเป็นสีน้ำตาลอมเทา ความฉ่ำและความนุ่มของเนื้อจะลดลง


steak คืออะไร

สเต๊ก คือเนื้อชิ้นใหญ่ปรุงสุกอย่างรวดเร็วด้วยการย่าง (grill) หรือทอดในกระทะด้วยน้ำมันน้อยๆ (pan-fry) หรือปิ้ง (broil) หรืออบในเตาอบ (roast) แล้วเสิร์ฟมาร้อนๆ แบบทั้งชิ้น หรือราดซอส เสิร์ฟพร้อมกับเครื่องเคียงประเภทผักต้ม ผักทอด ผักผัดเนย ข้าว ขนมปัง เส้นพาสต้า มันฝรั่ง
เป็นต้น

            สเต๊ก นิยมทำมาจากเนื้อแดงอย่างเนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อหมู ส่วนเนื้อปลา เนื้อเป็ด เนื้อไก่ ก็นำมาทำสเต๊กได้เช่นกัน เนื้อสเต๊กส่วนใหญ่จะหั่นตามขวางกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มความนุ่มของเนื้อ หรือเพิ่มความนุ่มด้วยการหมัก การปรุงสุกอย่างรวดเร็ว สเต๊กมีรสอร่อยจากความนุ่มหวานของเนื้อเป็นหลัก

Steak เกิดขึ้นมาได้อย่างไร

สเต๊ก เป็นอาหารฝรั่ง เป็น"อาหารฝรั่งเศส" เพราะฝรั่งเศสเป็นชาติแรกที่มีที่ตำรับตำราทำอาหารออกมาให้ผู้คนได้ศึกษา และตามประวัตืการค้นพบคนแรกที่เขียนตำราทำอาหารฝรั่งเศสคือ นายออกุส เอสคอฟฟีเยร์ (Auguste Escoffier) นายคนนี้เป็นพ่อครัวชาวฝรั่งเศส หรือเชฟที่ที่มีชื่อเสียงมาก ถึงกับได้ชื่อว่าเป็น "บิดาแห่งการครัว" หรือ คิง ออฟ เชฟ และ เชฟ ออฟ คิง (King of Chef & Chef of King) เพราะเป็นผู้ทำอาหารถวายพระเจ้าวิลเลียมที่ 2 สมัยสงครามระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมนี และทำอาหารเลี้ยงเชลยศึกอย่างอร่อยเหาะอีกด้วย จนได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากพระองค์ และยกย่องให้เขาเป็น "Emperor of the Culinary Art" ซึ่งก็หมายถึงว่า เป็นผู้มีความรู้ในศิลปะการทำอาหารชั้นยอดเยี่ยม แล้วนายเอสคอฟฟิเยร์ก็เป็นผู้เขียนตำราอาหารฝรั่งเศส ซึ่งเป็นตำรับของอาหารฝรั่งที่นิยม









นายออกุส เอสคอฟฟีเยร์ (Auguste Escoffier)